Social Icons

Pages

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รอบชิงชนะเลิศ บุคคลชาย-บุคคลหญิง กีฬาแห่งชาติครั้งที่43


ตูน 3 dan(มหาสารคาม) vs แนท 3 dan (กรุงเทพ)

         รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่43 นครราชสีมาเกมส์ ช่วงที่2 เป็นการแข่งขันในประเภทบุคคลชาย-บุคคลหญิงและทีมผสม โดยทีมที่ได้รับเหรียญรางวัลมีดังนี้ครับ

1. ประเภทบุคคลชาย
    เหรียญทอง ภูเก็ต  เหรียญเงิน มหาสารคาม เหรียญทองแดง กรุงเทพ นครราชสีมา

2. ประเภทบุคคลหญิง
    เหรียญทอง มหาสารคาม เหรียญเงิน กรุงเทพ เหรียญทองแดง สุราษฎร์ฐานี ชลบุรี

3. ประเภททีมผสม
    เหรียญทอง นครราชสีมา เหรียญเงิน กรุงเทพ ทองแดง มหาสารคาม สุพรรณบุรี

เอ็ม 4 dan(ภูเก็ต) vs ณัฐกฤษณ์ 5 dan (มหาสารคาม)


      Hi!Badukขอนำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศประเภทบุคคลชายชายและบุคคลหญิง มาให้แฟนๆได้ชมกันครับ เกมส์ในรอบชิงปีนี้ดุเดือดจริงๆโดยเฉพาะคู่ชายเดี่ยว เสองยอดยุทธจากภูเก็ตเอ็ม4ดั้งต้องมาปะทะกับณัฐกฤษณ์5ดั้งจากมหาสารคาม มาดูกลยุทธการเดินหมากของยอดฝีมือทั้งสองครับว่าจะเยี่ยมยุทธขนาดใหน ไปชมกันเลยยยย

ทัศนะหลังจบเกมส์ : เป็นเกมส์ที่ตื่นเต้นมากเพราะปกติจะแพ้พี่ณัฐกฤษณ์ตลอดเลย แต่ก็พยายามเล่นใจเย็นๆ เลยเดินผิดน้อย และชนะไปได้



ทัศนะหลังจบเกมส์ : ค่อนข้างยากในการตัดสินใจเดินหมากแต่ละเม็ด เกมส์นี้มีจุดที่พลิกเกมส์คือหมากขาว(กรุงเทพ)ไม่ได้เดินในจุดสำคัญในตอนที่ดำเดินพลาด และมีจังหวะหมากดำเดินปิดเกมส์พลาดซึ่งตรงนี้ทำให้ขาวพลิกกลับมาชนะได้และช่วงเอนด์เกมส์ขาวเดินปิดไม่ดีหลายเม็ด



ทัศนะหลังจบเกมส์ : ต้นเกมส์เดินเปิดเกมส์ด้วยโจเซกิที่ยากทำให้เล่นลำบากและเสียเปรียบในตอนแรก ช่วงกลางเกมส์สภาพเกมส์ดีขึ้นทำแต้มตีตื้นขึ้นมาได้ และช่วงท้ายเกมส์ดำเดินปิดเกมส์ได้ดีกว่าทำให้แต้มไม่พอ


Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ติ๊ 3 dan vs ณัฐกฤษณ์ 5 dan กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43

       การแข่งขันบุคคลชาย รอบแบ่งกลุ่ม รอบที่1  กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43 นครราชสีมาเกมส์ ฮือฮากันทั้งสนาม เมื่อติ๊มือ3ดั้งจากทีมเชียงใหม่ต้องมาโคจรพบกับเต็งหนึ่งจากมหาสารคาม ณัฐกฤต 5 ดั้ง ที่มีดีกรีเป็นราชันต์หมากล้อมของไทย ซึ่งก่อนแข่งทุกสำนักต่างฟันธงว่าดั้งติ๊ไม่น่ารอดจากคมดาบของราชันต์ไปได้ แต่หลังจากจบเกมส์เป็นไอ้หนุ่มจากเชียงใหม่กลับทำเซอร์ไพรส์ช๊อคคนดูทั้งสนามด้วยการโค่นราชันต์หมากล้อมด้วยผลรีซายน์ สร้างความมึนงงให้กับเซียนทุกสำนัก วันนี้ Hi! Baduk เลยต้องจัดเกมส์สำคัญนี้มาให้แฟนๆรับชม มาดูกันว่ากลยุทธที่ติ๊ใช้สยบราชันย์นั้นเป็นเยี่ยงไร

ติ๊ 3 ดั้ง(เชียงใหม่) vs ณัฐกฤษณ์ 5 ดั้ง (มหาสารคาม)

ทัศนะหลังเกมส์: เกมส์ดำเนินตามปกติ แต่ตอนหลัง ที่ขาวจะล้อมฆ่ากลุ่มดำ ที่จริงดำตัดสวนได้แต่เหมือนพี่เขาอ่านลมผิดเลยทำให้ขาวดำเนินเกมสต่อได้ ถ้าขาวโดนตัดสวนแต่แรก อาจจะแพ้ไปเลย ชนะเกมส์นี้ได้เพราะโชคจริงๆ



Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รอบชิงชนะเลิศ คู่ชาย-คู่หญิง-คู่ผสม กีฬาแห่งชาติครั้งที่43

      เกมส์ในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่43 นครราชสีมาเกมส์ 3วันแรกเป็นการแข่งขันในประเภทคู่ทั้ง 3 ประเภท หลังจบการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มมีทีมที่ฝ่านด่านอรหันต์พิชิตคู่ต่อสู้ได้ตำแหน่งดังนี้

1. ประเภทคู่หญิง
    เหรียญทอง นครราชสีมา เหรียญเงิน มหาสารคาม เหรียญทองแดง นครปฐม ภูเก็ต

2. ประเภทคู่ชาย
    เหรียญทอง สุพรรณบุรี เหรียญเงิน สุราษฎร์ฐานี เหรียญทองแดง นครราชสีมา มหาสารคาม

3. ประเภทคู่ผสม
    เหรียญทอง มหาสารคาม เหรียญเงิน สุราษฎร์ฐานี ทองแดง นครราชสีมา ชลบุรี


     วันนี้นำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศทั้ง 3 ประเภทมาให้ชมกันครับ มาชมฝีมือผู้เล่นระดับมือToptenของไทยกับลีลาการเล่นในประเภทคู่ เราไปชมและศึกษาเกมส์ของพวกเค้ากันครับ



ทัศนะหลังเกมส์: เกมส์ในรอบชิงวันนี้เป็นเกมส์ที่ยาก โชคดีที่ชนะ

ทัศนะหลังเกมส์: น้องพลอย กับน้องภาของโคราชเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีฝีมือเก่งมากค่ะ ส่วนของสารคาม แม้ว่าเอ๋ยจะมีระดับ 3 ดั้ง แต่น้องที่เล่นคู่ มีระดับ 4 คิว ซึ่งจะเห็นได้ว่า ห่างกันเยอะ ทำไมบางครั้งเขาตามเราไม่ทัน



ทัศนะหลังเกมส์ : ช่วงต้นเกมส์ดำเดินผิดพลาดที่มุมขวาบน ทำให้ถูกขาวโจมตีค้ากำไรอย่างหนัก ช่วงกลางเกมดำสร้างบ้านใหญ่แข่ง ขาวบุกเข้าไปลดทอนบ้านดำเกิดเป็นโคะขึ้น แต่แลกเปลี่ยนกันดำได้จับกินหมากกลางกระดานไปแต่ไม่ใหญ่พอ สุดท้ายแต้มไม่พอจึงยอมแพ้

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

The 2nd South East Asia Go championship ริท 6 ดั้ง vs Pham Nguyen Huu Loc


วันที่ 6-7 ธันวาคม 2557 การแข่งขันหมากล้อมชิงความเป็นเจ้าอาเซี่ยนในรายการ The 2nd South East Asia Go championship ที่ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทยส่ง 5 เสือเข้าสู้ศึกประกอบด้วย
1.ฤทธิ เบญจฤทธิ์( ฤทธิ 6 ดั้ง )
2.คณิน ฉัตรชยานุสรณ์ ( ท้อป 3 ดั้ง )
3.พิชานนท์ ทรงวัฒนกำจร ( พีท 2 ดั้ง ) 
4.ภาณุพัฒน์ ดิษฐี ( เนป 3 ดั้ง ) 
5.วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช ( แม็ก 3 ดั้ง ) 
ควบคุมทัพออกรบครั้งนี้โดย เหล่าซือ Shi Jin Bo



หลังจบงานทีมไทย   คว้ามาได้ 3 รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล
นายฤทธิ เบญจฤทธิ์( ฤทธิ 6 ดั้ง )
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 5 ประเภทบุคคล
ด.ช.วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช ( แม็ก 3 ดั้ง )
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภททีม


Ho Li Ting 2dan - Rit 6 dan


     วันนี้นำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศประเภทบุคคลมาให้ชมกันครับ เป็นการพบกันระหว่าง ฤทธิ เบญจฤทธิ์ 6 ดั้ง (thai) พบกับ Pham Nguyen Huu Loc (vietnam) เกมส์นี้ฝั่งไทยมีฟอร์มเหนือกว่ามากครับ สามารถสอนเชิงนักหมากล้อมเพื่อนบ้าน เอาชนะแต้มขาดลอย



ทัศนะหลังเกมส์: พอเล่นมุมแรกเสร็จกิน2เม็ดแล้วก็นำพอสมควร พอเล่นเสร็จมุมที่2ก็คิดว่าไม่น่าแพ้แล้ว ที่เหลือก็เล่นเรื่อยๆสบายๆเพราะนำเยอะมาก






วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

10 เกมส์สำคัญในชีวิตของ Go Seigen (ตอนที่.1) -Game of the Century "(เกมส์แห่งศตวรรษ)

ทันทีที่ได้ทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของปรมาจารย์หมากล้อมอู๋ชิงหยวนความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นก็คือรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูก สิ่งที่ิBlogerอย่างผมจะทำได้ในการไว้อาลัยท่านก็คือนำประวัติชีวิต แนวคิดและปรัชญาการเล่นหมากล้อมของท่านมาเผยแพร่ให้นักหมากล้อมท่านอื่นๆได้ทราบและนี้คือที่มาของบทความนี้ครับ บันทึกหมาก 10 เกมส์สำคัญในชีวิตของ Go Seigen (ตอนที่1)

 "  ฉันจะถ่ายทอดทักษะการประดิษฐ์ตัวอักษรของฉันกับลูกชายคนโตของฉัน ; ทักษะการประพันธ์ของฉันไปที่ลูกชายคนรอง และทักษะการเดินหมากล้อมไปที่ลูกชายคนสุดท้องของฉัน. "

ลูกชายคนสุดท้องคนนั้นก็คือ  Go Seigen นั่นเอง

  Go Seigen หรือชื่อเดิมในภาษาจีนว่า อู๋ชิงหยวน
( Wu Qing yuan) คำว่า"ชิงหยวน" มีความหมายว่า"ดั่งสายน้ำใสบริสุทธิ์" เกิดในครอบครัวใหญ่ของฝูโจว [เมืองทางตอนใต้จีน] ในปี 1914 อู๋ ชิงหยวนเริ่มต้นการเล่นหมากล้อมโดยการสอนของบิดาของเขาเองนั่นเป็นจุดเริ่ม ต้นของความคลั่งไคล้ ทุกๆเช้าเขาจะนำบันทึกหมากมาเรียงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนบางครั้งเขาถึงกับไม่นอน จนสว่างก็มี ในตอนนั้นเกมส์ที่เขานำมาเรียงจะเป็นบันทึกหมากโบราณของจีนรวมถึง Honinbo Dosakuในเวลาเพียงครึ่งปีเขาก็แตกฉานทักษะหมากล้อมทั้งหมดซึ่งตอนนั้นอู๋ชิงหยวนยังมีอายุไม่ครบ10ขวบด้วยซ้ำ วันหนึ่งลุงของอู๋ชิงหยวนเห็นว่าอู๋ชิงหยวนคร่ำเคร่งดูบันทึกหมากที่โต๊ะ ลุงตะโกนถามด้วยเสียงที่ดังมากว่า "แกอย่ามัวแต่เล่นโกะตลอดเวลา! เล่นไปมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรหรอก! โกะไม่ทำให้ชีวิตแกดีขึ้นหรอกนะ ?! ".......... " ผมทำได้ครับ! "อู๋ชิงหยวนตอบโดยไม่ลังเล "ผมจะสร้างชีวิตของผมด้วยหมากล้อมนี่แหละ!" ลุงตกใจกับคำตอบที่มุ่งมั่นนี้มาก จนได้แต่หัวเราะโดยไม่ได้พูดอะไรต่อ

        ก่อนที่จะเล่าประวัติต่อไปวันนี้ผมขอนำเกมส์สำคัญของอู๋ชิงหยวนเป็นเกมส์ที่ต้องพบกับ Honinbo Shusai ระหว่างช่วงปี คศ. 1933/10/16 ถึง 1934/01/29 ที่ได้รับการเรียกขานเกมส์นี้ว่า
"Game of the Century "(เกมส์แห่งศตวรรษ)

Go Seigen vs Honinbo Shusai


ประวัติเกมส์ เกมส์นี้กินเวลานานกว่าสามเดือน(รวมช่วงที่ต้องวิเคราห์ระหว่างสัปดาห์ด้วย)
เกมส์นี้ Honinbo Shusai เดินหมากที่เป็นtesuji ในตาเดินที่160 ที่สามารถเข้าทำลายพื้นที่ได้อย่างสุดยอดจึงสามารถพลิกสถานการณ์ชนะไป 2แต้ม(สมัยนั้นไม่มี komi) แต่มีเรื่องที่น่าตกใจนั้นก็คือหมากtesujiที่Honinbo Shusaiเดินนั้นไม่ใช่ความคิดของHoninbo Shusaiเองแต่เป็นความคิดของ Maeda Nobuakiลูกศิษย์ของซูไซ

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

5 ขุนพลนักศึกษาไทย Asian University GO Tournament 2014


  มาชมพลังผีมือของเหล่าหัวกะทินักศึกษาไทยในการแข่งขัน Asian University GO Tournament 2014 ที่จัดการแข่งขัน ณ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยต้องปะทะกับยอดฝีมือจาก10ประเทศ อย่างประเทศจีนที่ส่งตัวพ่อระดับโปร6ดั้ง ญี่ปุ่นจัด7ดั้งทั้งทีม(โหดเกิ๊นนน)
     ฝั่งไทยแลนด์สยามประเทศ ส่ง5ยอดฝีมือระดับมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
1. ชิษณุพงศ์ แจ้งมาก 4 ดั้ง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
2. กฤษฏิ์ แจ่มขจรเกียรติ 4 ดั้ง ( มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ )
3. เบน วงศ์สายใจ 4 ดั้ง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
4. ทักษ์ดนัย ธาราวรรณ ดั้ง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
5. ณัฐวัชร์ พ่อค้า 3 ดั้ง ( มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย )



      เกมส์ในรายการนี้หนักหน่วงจริงๆครับ เพราะแต่ละประเทศต่างส่งมือโหดระดับ6-7ดั้ง และมีโปร6ดั้งเข้าร่วมการแข่งขันด้วย แต่ทีมไทยก็ไม่ยอมง่ายๆสู้ตายทุกกระดาน จบการแข่งขันทำอันดับ 6 ไปได้สร้างความความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยและเสียงปรบมือจากคู่แข่งทุกประเทศ เรามาชมฝีมือของพวกเค้าเหล่านี้ได้เลยครับ

Kim Hyunah 6 dan vs Ben Wongsaijai 4 dan




 ทัศนะหลังจบเกมส์:เปิดเกมส์ขาวไม่มีแต้มเพราะเดินหมากพลาด ไปเดินหมากมือตาม แต่หลังจากแลกเปลี่ยนตอนกลางเกมส์ขาวค่อนข้างดีกว่า แต่ในเกมส์จริงอยากจับกินมากเกินไป และโจมตีได้ไม่ค่อยดี ทำให้แพ้ไป


Game comment By : Kim Jin Hun 4 dan Pro
 

Takdanai 3 dan vs Kimura Kiyanari 7 dan


ทัศนะหลังจบเกมส์: เปิดเกมส์หมากดำดูเล่นสบายกว่า แต่พลาดจุดใหญ่ๆสองที่คือ จังหวะที่โจมตีขาวบริเวณด้านล่างกระดาน และจังหวะที่ดำได้พื้นที่กลางตรงกลางกระดาน แล้วบุกเข้ามุมบนซ้ายของขาว ซึ่งควรจะเอามือมาเชื่อมหมากบริเวณด้านขวาของกระดานมากกว่า แต้มรวมโคมิหมากขาวนำอยู่พอสมควร รวมทั้งเวลาไม่พอ หมากดำจึงขอยอมแพ้



ทัศนะหลังจบเกมส์: เป็นเกมส์ที่น่าสนใจมากเพราะตอนเปิดเกมส์ดำ(ญี่ปุ่น)มีลักษณะเหมือนจะล้อมขาวแต่ มีจุดอ่อนคือแผลตัด ซึ่งตอนแรกดำเหมือนจะดีกว่า แต่พอโดนตัด ทำให้ขาวได้เปรียบมาก แต่ดำก็เลือกทางเลือกที่ดีคือตัดสู้เพื่อจะไล่แต้มให้ทัน แต่ผลการต่อสู้ขาวดีกว่า ทำให้เกมส์นี้ขาวชนะไป



ทัศนะหลังจบเกมส์: ช่วงเปิดเกมเปิดบ้านแลกกัน พอขาวเข้าไปบุกแล้วออกมาไม่ดี เลยทำให้แพ้





ทัศนะหลังจบเกมส์: การแข่งขันรอบนี้ ผมเดินเปิดเกมค่อนข้างเสียเปรียบมาก โดยถูกจับกินหมากที่เรียกว่า "เม็ดตัด" แต่หลังจากนั้น ผมก็ใจเย็นตั้งสติ พยายามใช้กลุ่มหมากที่ตายให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นกระดานที่สู้กันมันส์มากครับ ผมพยายามชิงเดินปิดเกมส์ให้ได้มากที่สุด และสุดท้ายเฉือนชนะไปครึ่งแต้ม


วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รอบชิงชนะเลิศ U-GO19 ธีระ 4 ดั้ง vs ณัฐกฤต 5 ดั้ง

     การแข่งขันหมากล้อม Asian University Go Tournament 2014 และหมากล้อมอุดมศึกษาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19  ระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2557 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยในครั้งนี้มีนักกีฬาหมากล้อมจาก 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันและ นักกีฬาหมากล้อมระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมประลองฝีมืออีกกว่า200คน ใน2ประเภทคือ ประเภททีมและบุคคลหญิง สำหรับสรุปผลการแข่งขันว่าทีมใดได้รับรางวัลอะไรบ้างClickอ่านข่าวทั้งหมดได้ที่ด้านล่างนี้ครับ

อ่านข่าวและสรุปผลทั้งหมดจาก THAIGOGENIUS.com CLICK 

 ณัฐกฤต 5 ดั้ง(ธุรกิจบัณฑิต) vs มิ้ง 4 ดั้ง(เกษตรศาสตร์)

              วันนี้นำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศประเภททีมและบุุคคลหญิงมาให้ชมกันครับ โดยไฮไลต์ของรอบนี้สายตาทุกคู่จับจ้องไปที่การพบกันของ2ยอดฝีมือแห่งยุคคือคู่มือ2 ธีระ4ดั้ง vs ณัฐกฤต 5 ดั้ง ซึ่งรูปเกมส์บนกระดานก็ดุเดือดเลือดสาดเมื่อทั้งสองฝ่ายเปิดหมากแลกกันอย่างสนุกแต่เป็นมิ้ง4ดั้งที่ใช้การเอนด์เกมส์ที่มีประสิทธิภาพกว่าเบียดเอาชนะณัฐกฤต ไปได้1แต้มครึ่ง ทำให้ทีมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พลิกกับมาคว้าแชมป์ชนิดช๊อคคนดูทั้งสนามเรามาชมเกมส์ของคู่นี้และทั้งหมดได้เลยครับ

ทัศนะหลังจบเกมส์: ช่วงเปิดเกมส์มาทำได้ไม่ดีนักแต่มาได้กำไรจากการโจมตี    สุดท้ายช่วงเอนด์เกมส์เล่นได้ไม่ดีจึงทำให้แพ้ไป


ทัศนะหลังจบเกมส์: เกมส์นี้ดำโจมตีขาวได้กำแพงทำให้ขาวไม่ค่อยดี เลยตัดสินใจตัดสู้ทำให้เกมส์ดีขึ้นมา ช่วงกลางกระดานดำจับกินขาวตายตรงมุมได้ทำให้ดำแต้มนำแต่ดำเอนด์เกมส์ไม่ดี ขาวเลยพลิกกลับมาชนะ





คู่มือ1 

ทัศนะหลังจบเกมส์: เกมส์นี้ผมเปิดเกมส์ได้ดีกว่ามีแต้มและโครงร่างที่ดีเลยทำให้กลางเกมส์ชะล่าใจและประมาทเปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ทำแต้มไล่ขึ้นมาสุดท้ายพื้นที่ใหญ่ถูกทำลายแต้มเลยไม่พอ


ทัศนะหลังจบเกมส์:เป็นเกมส์ที่แลกกันปิดบ้านจนมีที่หนึ่งดำเดินรอดไม่ดีทำให้ขาวโจมตีปิดบ้านใหญ่และดำจับกินพลาดไปเม็ดนึงทำให้บ้านใหญ่แตกและแพ้ไป






คู่มือ3 

ทัศนะหลังจบเกมส์: ดำเปิดเกมส์เสียเปรียบและขาวโจมตีผิดจังหวะนึงทำให้มีโอกาสโต้กลับและเกมส์พลิกกลับมาสูสีจนใช้เอนด์เกมส์เบียดชนะ





 ทัศนะหลังจบเกมส์: เปิดเกมส์มารู้สึกไม่ค่อยดีแต่การโจมตีของดำทำให้รูปเกมส์กลับมาเล่นได้แต่การโจมตีที่ผิดจังหวะช่วงต้นเกมส์ทำให้ดำดีกว่า






              _______________________________________________________



รอบชิงชนะเลิศบุคคลหญิง U-GO19 

หมากขาว:   ภัทราพร อรุณไพจิตรา 3 ดั้ง (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)








หมากดำ: ริบะคา วงศ์ชูแก้ว 3 ดั้ง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก)



Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

The 10th Nanning International Weiqi Invitational Tournament 2014 ณฐ4ดั้ง(TH) vs Zhan Shixian 6dan (Taiwan)

การแข่งขันหมากล้อมรายการ the 10th Nanning-ASEAN Board & Card Games International Invitational Tournament 2014 ปีนี้จัดขึ้นเมืองหนานหนิงที่ประเทศจีน หลายท่านอ่านชื่องานแล้วคงมีอาการงุนงงเล็กน้อยเพราะในชื่องานมีกีฬาการ์ด เกมส์ด้วย ใช่แล้วครับการแข่งขันครั้งนี้มีการจัดการแข่งขัน หมากรุกจีน(Chinese Chess (XiangQi)) และ บริดจ์ (Bridge) ร่วมในงานด้วย ซึ่งการแข่งขันหมากล้อมถูกจัดขึ้นโดยใช้ชื่อว่า The 10th Nanning International Weiqi Invitational Tournament


ประเทศไทยส่ง"เทพณฐ" ธนพล เตียวัฒนานนท์ 4 ดั้งและ "the L"ชิษณุพงศ์ แจ้งมาก 4 ดั้งลงแข่งในกีฬาหมากล้อม ซึ่งรายการนี้ณฐเค้นฟอร์มมหาเทพจัดหนักอัดคู่แข่งจนราบคาบ ทำสถิติชนะ 6 แพ้1 ประกาศศักดาคว้าแชมป์มาครองสะท้านแผ่นดินจีน
 
ทีมไทยคว้าแชมป์ประเภทบุคคลและอันดับ2ประเภททีม

วันนี้คัดเกมส์ในในรอบแรกมาให้ชมกันครับ ระหว่าง ธนพล เตียวัฒนานนท์ 4 ดั้ง พบกับZhan Shixian มือ6 ดั้งจากไต้หวัน เกมส์นี้ทั้งสองฝ่ายอัดกันหนักตลอดทั้งเกมส์แต่เป็นน๊อตที่รักษาสมดุลของแต้มบนกระดานได้นิ่งกว่าเบียดชนะไปได้2แต้มครึ่ง เรามาชมเกมส์คู่นี้กันครับ

ทัศนะหลังจบเกมส์: กระดานแรกเปิดมาเจอกับ6ดั้งจากไต้หวันเลย คิดว่าถ้าผ่านกระดานแรกไปได้ที่เหลือก็ไม่ต้องกลัวใคร เปิดเกมส์ขาว(ไต้หวัน)เล่นสูตรมุมผิดพลาด ทำให้ดำได้เปรียบช่วงเปิดเกมส์ แต่ว่าพอเข้าช่วงกลางเกม ดำเดินผิดพลาด ถูกตัดสองเม็ดกลางกระดาน จึงไม่สามารถรักษาความได้เปรียบไว้ได้ แต่ดำพยายามเดินหมากเบาๆ สละหมากสองเม็ดกลางกระดานแล้วรักษาสมดุลของเกมส์ไว้แล้วเบียดเอาชนะช่วงปิดเกมส์ไปได้2แต้มครึ่ง

ชมบันทึกเกมส์รอบ 2-7และTeaching Game with Pro ทั้งหมด CLICK

Game comment by : ธนพล เตียวัฒนานนท์ 4 ดั้ง



 
คำแนะนำจากณฐ 4 ดั้ง: การแข่งขันครั้งนี้ กรรมการเคร่งเรื่องกฎแบบจีนมาก มีกรรมการจากโอลิมปิกจีนมาบอกกฎ เรื่องนับแต้มจีนแบบมาตรฐาน เรื่องกดนาฬิกา เรื่องถมดาเมะ เรื่องผ่าน กระดานที่สองผมชนะแล้วแต่ว่าจับกินหมากเยอะจึงไม่สามารถกดเวลาได้สุดท้าย เวลาหมดก่อนคู่ต่อสู้เลยแพ้กระดานที่สอง แต่กระดานที่5เจอ7ดั้งไต้หวัน แต้มผมตาม แต่สุดท้ายเค้าเวลาหมดก่อน ผมเลยชนะ และใช้โคมิ7.5 นับแบบจีน ต้องถมดาเมะให้หมด ถ้าหมดเวลาคือแพ้ทุกกรณี ยกเว้นผ่านก่อน ดังนั้นนักหมากล้อมที่เข้าแข่งในกติกาจีนต้องระมัดระวังเรื่องนี้ครับ


Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

7 Game ของ ณฐ4dan The 10th Nanning International Weiqi Invitational Tournament

บันทึกเกมส์ของ7 Game ของ ณฐ4dan เส้นทางสู่แชมป์ ในรายการ The 10th Nanning International Weiqi Invitational Tournament ที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน


รอบ 2  Nod 4 Dan vs Cai Zhixiong Singapore 4 Dan



รอบ 3  Nod 4 Dan vs Liu Chengzhong Nanning4 Dan



รอบ 4 Nod 4 Dan vs Handy Bunawan Indonesia 2 Dan


รอบ 5 Nod 4 Dan vs Chen Changyan Taiwan 7 Dan


รอบ 6 Nod 4 Dan vs Yao Jianping Macao 5 Dan


รอบ 7 Nod 4 Dan vs Pham Minh Quang Vietnam 5 Dan


Teaching Game with Pro Nod 4 Dan vs Wang Runan 8P

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

1st Tri Nations Junior Go Challenge น้องเจ๋ง2ดั้ง(TH) vs Lucas Rahardja (SIN)


     การแข่งขันหมากล้อมประเภททีมรุ่นจิ๋วรายการ  1st Tri Nations Junior Go Challenge จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2557ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยรายการนี้เป็นการแข่งขันของไอ้หนูเยาวชนนักหมากล้อมระดับดั้งรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จาก 3 ประเทศย่านอาเซี่ยนคือ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทยเข้าร่วมปะทะฝีมือ ซึ่งผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลถึง $3,000เลยทีเดียว ประเทศไทยส่ง3 ยอดฝีมือรุ่นเล็กสุดจี๊ด ประกอบด้วย
1. น้องเจ๋ง" ด.ช.พงษ์เมธ  วิโรจน์ธรรม  2 Dan
2. น้องกานต์ ด.ช.พงศกานต์ ศรอารา    1 Dan
3. น้องบูม  ด.ช.ภวัต แสงศิริพงษ์พันธ์   1 Kyu

   หลังจบการแข่งขันเยาวชนทีมชาติไทยทำผลงานโดยทำสถิติชนะ 2แพ้1กระดาน คว้ารองแชมป์ไปครอง และยังเป็นการประกาศให้เพื่อนบ้านย่านอาเซี่ยนรู้ว่าเด็กไทยสามารถต่อกรกับนักหมากล้อมชั้นนำได้อย่างสบาย


บรรยากาศการแข่งขัน
ทีมเยาวชนไทยคว้ารองชนะเลิศอันดับ1 1st Tri Nations Junior Go Challenge

    วันนี้นำเกมส์ของเจ้าหนูดั้งประถม "น้องเจ๋ง" ด.ช.พงษ์เมธ วิโรจน์ธรรม 2 ดั้ง จากประเทศไทย พบกับเจ้าถิ่นสิงคโปร์ ดช.Lucas Rahardja มาให้ชมกันครับ เกมส์นี้น้องเจ๋งเล่นได้อย่างแข็งแกร่งแต่ก็เป็นฝ่ายสิงคโปร์ที่อาศัยการที่เล่นผิดพลาดน้อยกว่าบดเอาชนะน้องเจ๋งไปได้4แต้มครึ่ง เรามาชมเกมส์คู่นี้กันครับ
Lucas Rahardja(SIN) vs ด.ช.พงษ์เมธ  วิโรจน์ธรรม 2 ดั้ง (THAI)


ทัศนะโค๊ชหลังเกมส์: ขาวเปิดเกมส์ไม่ค่อยดี ทำให้เสียเปรียบเเต่สามารถเดินกลางกระดานได้ดี จนพลิกกลับมานำได้เล็กน้อย เเต่ด้วยประสบการณ์ทำให้พลาด ไม่ได้เชื่อมเม็ดกลางกระดานโดนตัดกินใหญ่เเต้มจึงตกเป็นรอง ท้ายที่สุดก็พลาดโอกาสสำคัญที่จะตัดกินเเละพลิกเกมส์กลับมาชนะได้อย่างน่า เสียดาย...

Game comment by : ครูชัช-ครูไนซ์


Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม