Social Icons

Pages

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รอบชิงชนะเลิศ บุคคลชาย-บุคคลหญิง กีฬาแห่งชาติครั้งที่43


ตูน 3 dan(มหาสารคาม) vs แนท 3 dan (กรุงเทพ)

         รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่43 นครราชสีมาเกมส์ ช่วงที่2 เป็นการแข่งขันในประเภทบุคคลชาย-บุคคลหญิงและทีมผสม โดยทีมที่ได้รับเหรียญรางวัลมีดังนี้ครับ

1. ประเภทบุคคลชาย
    เหรียญทอง ภูเก็ต  เหรียญเงิน มหาสารคาม เหรียญทองแดง กรุงเทพ นครราชสีมา

2. ประเภทบุคคลหญิง
    เหรียญทอง มหาสารคาม เหรียญเงิน กรุงเทพ เหรียญทองแดง สุราษฎร์ฐานี ชลบุรี

3. ประเภททีมผสม
    เหรียญทอง นครราชสีมา เหรียญเงิน กรุงเทพ ทองแดง มหาสารคาม สุพรรณบุรี

เอ็ม 4 dan(ภูเก็ต) vs ณัฐกฤษณ์ 5 dan (มหาสารคาม)


      Hi!Badukขอนำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศประเภทบุคคลชายชายและบุคคลหญิง มาให้แฟนๆได้ชมกันครับ เกมส์ในรอบชิงปีนี้ดุเดือดจริงๆโดยเฉพาะคู่ชายเดี่ยว เสองยอดยุทธจากภูเก็ตเอ็ม4ดั้งต้องมาปะทะกับณัฐกฤษณ์5ดั้งจากมหาสารคาม มาดูกลยุทธการเดินหมากของยอดฝีมือทั้งสองครับว่าจะเยี่ยมยุทธขนาดใหน ไปชมกันเลยยยย

ทัศนะหลังจบเกมส์ : เป็นเกมส์ที่ตื่นเต้นมากเพราะปกติจะแพ้พี่ณัฐกฤษณ์ตลอดเลย แต่ก็พยายามเล่นใจเย็นๆ เลยเดินผิดน้อย และชนะไปได้



ทัศนะหลังจบเกมส์ : ค่อนข้างยากในการตัดสินใจเดินหมากแต่ละเม็ด เกมส์นี้มีจุดที่พลิกเกมส์คือหมากขาว(กรุงเทพ)ไม่ได้เดินในจุดสำคัญในตอนที่ดำเดินพลาด และมีจังหวะหมากดำเดินปิดเกมส์พลาดซึ่งตรงนี้ทำให้ขาวพลิกกลับมาชนะได้และช่วงเอนด์เกมส์ขาวเดินปิดไม่ดีหลายเม็ด



ทัศนะหลังจบเกมส์ : ต้นเกมส์เดินเปิดเกมส์ด้วยโจเซกิที่ยากทำให้เล่นลำบากและเสียเปรียบในตอนแรก ช่วงกลางเกมส์สภาพเกมส์ดีขึ้นทำแต้มตีตื้นขึ้นมาได้ และช่วงท้ายเกมส์ดำเดินปิดเกมส์ได้ดีกว่าทำให้แต้มไม่พอ


Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ติ๊ 3 dan vs ณัฐกฤษณ์ 5 dan กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43

       การแข่งขันบุคคลชาย รอบแบ่งกลุ่ม รอบที่1  กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43 นครราชสีมาเกมส์ ฮือฮากันทั้งสนาม เมื่อติ๊มือ3ดั้งจากทีมเชียงใหม่ต้องมาโคจรพบกับเต็งหนึ่งจากมหาสารคาม ณัฐกฤต 5 ดั้ง ที่มีดีกรีเป็นราชันต์หมากล้อมของไทย ซึ่งก่อนแข่งทุกสำนักต่างฟันธงว่าดั้งติ๊ไม่น่ารอดจากคมดาบของราชันต์ไปได้ แต่หลังจากจบเกมส์เป็นไอ้หนุ่มจากเชียงใหม่กลับทำเซอร์ไพรส์ช๊อคคนดูทั้งสนามด้วยการโค่นราชันต์หมากล้อมด้วยผลรีซายน์ สร้างความมึนงงให้กับเซียนทุกสำนัก วันนี้ Hi! Baduk เลยต้องจัดเกมส์สำคัญนี้มาให้แฟนๆรับชม มาดูกันว่ากลยุทธที่ติ๊ใช้สยบราชันย์นั้นเป็นเยี่ยงไร

ติ๊ 3 ดั้ง(เชียงใหม่) vs ณัฐกฤษณ์ 5 ดั้ง (มหาสารคาม)

ทัศนะหลังเกมส์: เกมส์ดำเนินตามปกติ แต่ตอนหลัง ที่ขาวจะล้อมฆ่ากลุ่มดำ ที่จริงดำตัดสวนได้แต่เหมือนพี่เขาอ่านลมผิดเลยทำให้ขาวดำเนินเกมสต่อได้ ถ้าขาวโดนตัดสวนแต่แรก อาจจะแพ้ไปเลย ชนะเกมส์นี้ได้เพราะโชคจริงๆ



Korea (한국) - Baduk, 바둑 China (中國) - 圍棋 (weiqi) Japan (日本) - 碁(ご) Thai - หมากล้อม

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รอบชิงชนะเลิศ คู่ชาย-คู่หญิง-คู่ผสม กีฬาแห่งชาติครั้งที่43

      เกมส์ในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่43 นครราชสีมาเกมส์ 3วันแรกเป็นการแข่งขันในประเภทคู่ทั้ง 3 ประเภท หลังจบการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มมีทีมที่ฝ่านด่านอรหันต์พิชิตคู่ต่อสู้ได้ตำแหน่งดังนี้

1. ประเภทคู่หญิง
    เหรียญทอง นครราชสีมา เหรียญเงิน มหาสารคาม เหรียญทองแดง นครปฐม ภูเก็ต

2. ประเภทคู่ชาย
    เหรียญทอง สุพรรณบุรี เหรียญเงิน สุราษฎร์ฐานี เหรียญทองแดง นครราชสีมา มหาสารคาม

3. ประเภทคู่ผสม
    เหรียญทอง มหาสารคาม เหรียญเงิน สุราษฎร์ฐานี ทองแดง นครราชสีมา ชลบุรี


     วันนี้นำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศทั้ง 3 ประเภทมาให้ชมกันครับ มาชมฝีมือผู้เล่นระดับมือToptenของไทยกับลีลาการเล่นในประเภทคู่ เราไปชมและศึกษาเกมส์ของพวกเค้ากันครับ



ทัศนะหลังเกมส์: เกมส์ในรอบชิงวันนี้เป็นเกมส์ที่ยาก โชคดีที่ชนะ

ทัศนะหลังเกมส์: น้องพลอย กับน้องภาของโคราชเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีฝีมือเก่งมากค่ะ ส่วนของสารคาม แม้ว่าเอ๋ยจะมีระดับ 3 ดั้ง แต่น้องที่เล่นคู่ มีระดับ 4 คิว ซึ่งจะเห็นได้ว่า ห่างกันเยอะ ทำไมบางครั้งเขาตามเราไม่ทัน



ทัศนะหลังเกมส์ : ช่วงต้นเกมส์ดำเดินผิดพลาดที่มุมขวาบน ทำให้ถูกขาวโจมตีค้ากำไรอย่างหนัก ช่วงกลางเกมดำสร้างบ้านใหญ่แข่ง ขาวบุกเข้าไปลดทอนบ้านดำเกิดเป็นโคะขึ้น แต่แลกเปลี่ยนกันดำได้จับกินหมากกลางกระดานไปแต่ไม่ใหญ่พอ สุดท้ายแต้มไม่พอจึงยอมแพ้

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

The 2nd South East Asia Go championship ริท 6 ดั้ง vs Pham Nguyen Huu Loc


วันที่ 6-7 ธันวาคม 2557 การแข่งขันหมากล้อมชิงความเป็นเจ้าอาเซี่ยนในรายการ The 2nd South East Asia Go championship ที่ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทยส่ง 5 เสือเข้าสู้ศึกประกอบด้วย
1.ฤทธิ เบญจฤทธิ์( ฤทธิ 6 ดั้ง )
2.คณิน ฉัตรชยานุสรณ์ ( ท้อป 3 ดั้ง )
3.พิชานนท์ ทรงวัฒนกำจร ( พีท 2 ดั้ง ) 
4.ภาณุพัฒน์ ดิษฐี ( เนป 3 ดั้ง ) 
5.วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช ( แม็ก 3 ดั้ง ) 
ควบคุมทัพออกรบครั้งนี้โดย เหล่าซือ Shi Jin Bo



หลังจบงานทีมไทย   คว้ามาได้ 3 รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล
นายฤทธิ เบญจฤทธิ์( ฤทธิ 6 ดั้ง )
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 5 ประเภทบุคคล
ด.ช.วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช ( แม็ก 3 ดั้ง )
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภททีม


Ho Li Ting 2dan - Rit 6 dan


     วันนี้นำเกมส์ในรอบชิงชนะเลิศประเภทบุคคลมาให้ชมกันครับ เป็นการพบกันระหว่าง ฤทธิ เบญจฤทธิ์ 6 ดั้ง (thai) พบกับ Pham Nguyen Huu Loc (vietnam) เกมส์นี้ฝั่งไทยมีฟอร์มเหนือกว่ามากครับ สามารถสอนเชิงนักหมากล้อมเพื่อนบ้าน เอาชนะแต้มขาดลอย



ทัศนะหลังเกมส์: พอเล่นมุมแรกเสร็จกิน2เม็ดแล้วก็นำพอสมควร พอเล่นเสร็จมุมที่2ก็คิดว่าไม่น่าแพ้แล้ว ที่เหลือก็เล่นเรื่อยๆสบายๆเพราะนำเยอะมาก






วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

10 เกมส์สำคัญในชีวิตของ Go Seigen (ตอนที่.1) -Game of the Century "(เกมส์แห่งศตวรรษ)

ทันทีที่ได้ทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของปรมาจารย์หมากล้อมอู๋ชิงหยวนความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นก็คือรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูก สิ่งที่ิBlogerอย่างผมจะทำได้ในการไว้อาลัยท่านก็คือนำประวัติชีวิต แนวคิดและปรัชญาการเล่นหมากล้อมของท่านมาเผยแพร่ให้นักหมากล้อมท่านอื่นๆได้ทราบและนี้คือที่มาของบทความนี้ครับ บันทึกหมาก 10 เกมส์สำคัญในชีวิตของ Go Seigen (ตอนที่1)

 "  ฉันจะถ่ายทอดทักษะการประดิษฐ์ตัวอักษรของฉันกับลูกชายคนโตของฉัน ; ทักษะการประพันธ์ของฉันไปที่ลูกชายคนรอง และทักษะการเดินหมากล้อมไปที่ลูกชายคนสุดท้องของฉัน. "

ลูกชายคนสุดท้องคนนั้นก็คือ  Go Seigen นั่นเอง

  Go Seigen หรือชื่อเดิมในภาษาจีนว่า อู๋ชิงหยวน
( Wu Qing yuan) คำว่า"ชิงหยวน" มีความหมายว่า"ดั่งสายน้ำใสบริสุทธิ์" เกิดในครอบครัวใหญ่ของฝูโจว [เมืองทางตอนใต้จีน] ในปี 1914 อู๋ ชิงหยวนเริ่มต้นการเล่นหมากล้อมโดยการสอนของบิดาของเขาเองนั่นเป็นจุดเริ่ม ต้นของความคลั่งไคล้ ทุกๆเช้าเขาจะนำบันทึกหมากมาเรียงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนบางครั้งเขาถึงกับไม่นอน จนสว่างก็มี ในตอนนั้นเกมส์ที่เขานำมาเรียงจะเป็นบันทึกหมากโบราณของจีนรวมถึง Honinbo Dosakuในเวลาเพียงครึ่งปีเขาก็แตกฉานทักษะหมากล้อมทั้งหมดซึ่งตอนนั้นอู๋ชิงหยวนยังมีอายุไม่ครบ10ขวบด้วยซ้ำ วันหนึ่งลุงของอู๋ชิงหยวนเห็นว่าอู๋ชิงหยวนคร่ำเคร่งดูบันทึกหมากที่โต๊ะ ลุงตะโกนถามด้วยเสียงที่ดังมากว่า "แกอย่ามัวแต่เล่นโกะตลอดเวลา! เล่นไปมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรหรอก! โกะไม่ทำให้ชีวิตแกดีขึ้นหรอกนะ ?! ".......... " ผมทำได้ครับ! "อู๋ชิงหยวนตอบโดยไม่ลังเล "ผมจะสร้างชีวิตของผมด้วยหมากล้อมนี่แหละ!" ลุงตกใจกับคำตอบที่มุ่งมั่นนี้มาก จนได้แต่หัวเราะโดยไม่ได้พูดอะไรต่อ

        ก่อนที่จะเล่าประวัติต่อไปวันนี้ผมขอนำเกมส์สำคัญของอู๋ชิงหยวนเป็นเกมส์ที่ต้องพบกับ Honinbo Shusai ระหว่างช่วงปี คศ. 1933/10/16 ถึง 1934/01/29 ที่ได้รับการเรียกขานเกมส์นี้ว่า
"Game of the Century "(เกมส์แห่งศตวรรษ)

Go Seigen vs Honinbo Shusai


ประวัติเกมส์ เกมส์นี้กินเวลานานกว่าสามเดือน(รวมช่วงที่ต้องวิเคราห์ระหว่างสัปดาห์ด้วย)
เกมส์นี้ Honinbo Shusai เดินหมากที่เป็นtesuji ในตาเดินที่160 ที่สามารถเข้าทำลายพื้นที่ได้อย่างสุดยอดจึงสามารถพลิกสถานการณ์ชนะไป 2แต้ม(สมัยนั้นไม่มี komi) แต่มีเรื่องที่น่าตกใจนั้นก็คือหมากtesujiที่Honinbo Shusaiเดินนั้นไม่ใช่ความคิดของHoninbo Shusaiเองแต่เป็นความคิดของ Maeda Nobuakiลูกศิษย์ของซูไซ